Lecture3

 
บทที่ 10 การจัดรูปแบบตัวอักษรสำหรับเว็บไซต์
 
  ส่วนประกอบของตัวอักษร
ในแต่ละตัวอักษรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เราน่าจะรู้จักไว้ เพื่อที่จะใช้
ประโยชน์เมื่อต้องการเปรียบเทียบลักษณะของตัวอักษณแต่ละชนิดได้
ส่วนประกอบหลัก ๆ ที่ควรรู้จัก มีดังนี้
 
  •  Ascender
           ส่วนบนของตัวอักษรพิมพ์เล็ก ที่สูงกว่าความสูง x-height ของตัวอักษร
  •  Descender
            ส่วนล่างของตัวอักษรพิมพ์เล็กที่ต่ำกว่าเส้น baseline ของตัวอักษร
  •  Baseline
               เส้นสมมุติที่ตัวอักษรส่วนใหญ่ตั้งอยู่
  •  Cap height
               ความสูงจากเส้น baseline ไปถึงส่วนบนสุดของตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
  •  x-height 
             หมายถึง ความสูงของตัวอักษร x ในแบบพิมพ์เล็ก ซึ่งมักจะใช้อ้างถึง
      ความสูงของตัวอักษรที่ไม่รวมส่วนบนและส่วนล่าง
  •  point size
             ระยะความสูงทั้งหมดวัดจากส่วนบนสุดถึงส่วนล่างสุดของตัวอักษร
 
ช่องว่างระหว่างตัวอักษร (Tracking) และช่องว่างระหว่างคำ
 
ความรู้สึกของตัวอักษรอาจจะเป็นผลมาจากพื้อที่ว่างโดยรอบ ที่อยู่ระหว่างตัวอักษร
 ระหว่างคำ หรือระหว่างบรรทัด คุณสามารถปรับระยะของช่องว่างเหล่านี้เพื่อให้อ่าน
ได้ง่ายขึ้น แม้ว่าตัวอักษรจะถูกออกแบบมาให้มีระยะห่างที่เหมาะสมอยู่แล้ว แต่ใน
บางสถานการณ์ อาจมีความต้องการให้ตัวอักษรดูแน่นหรือหลวมเป็นพิเศษอย่างเช่น
ตัวอักษีที่ใช้ ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด (UPPERCASE) จะดูค่อนข้างแน่นเพราะถูกออก
แบบให้ใช้ร่วมกับตัวพิมพ์เล็กดังนั้นคุณควรเพิ่มช่องว่างระหว่างตัวอักษรให้มากขึ้น
เล็กน้อย สำหรับคำที่ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
 
        ตัวอักษรบางคู่ที่อยู่ติดกันอาจมีระยะห่างไม่เหมาะสม จำเป็นต้องทำการปรับ
แต่งที่เรียกว่า Kerning เป็นการปรับระยะห่างระหว่างคู่ของตัวอักษร ซึ่งจะมีความ
สำคัญมากเมื่อใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่หรือตัวอักษรที่ใช้เป็นหัวข้อหลัก เพราะเมื่อ
ตัวอักษรใหญ่ขึ้นก็จะเกิดช่องว่างที่มากขึ้นด้วย จุดประสงค์ของการทำ kerning คือ
การปรับระยะห่างของตัวอักษรให้เท่ากันโดยตลอด เพื่อที่สายตาจะได้เคลื่อนที่
อย่างราบเรียบและสม่ำเสมอ
 
       ช่องว่างระหว่างคำสำหรับภาษาอังกฤษ หรือ ช่องว่างระหว่างคำในภาษาไทย
เป็นสิ่งที่ควรจะเท่ากันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการจัดตำแหน่งแบบ Justify ช่องว่างของ
แต่ละคำจะแตกต่างกันไปในแต่ละบรรทัด เพื่อช่วยให้ขอบซ้ายและขวาเท่ากัน
คุณอาจต้องใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (-) มาช่วยแยกคำให้อยู่คนละบรรทัด หรือปรับ
เปลี่ยนการเว้รวรรคใหม่ เพื่อไม่ให้มีช่องว่างมากเกินไป
 
การจัดตำแหน่ง (Alignmen)
 
     การจำตำแหน่งของตัวอักษรในแต่ละส่วนมีผลต่อความรู้สึกของเอกสาร โดยที่
การจัดตำแหน่งแต่ละแบบจะให้ความรู้สึกที่ต่างกัน ตัวอักษรที่ถูกจัดให้ชิดขอบ
ด้านซ้ายโดยที่ปล่อยให้ด้านขวามีลักษณะไม่สม่ำเสมอ จะให้ความรู้สึกไม่เป็น
ทางการ และจะอ่านได้ง่ายกว่าการจัดชิดขอบขวา โดยทั่วไปแล้วพยายามหลีก
เลี่ยงการจัดชิดขวา ยกเว้นเมื่อมีความเหมาะสมกับรูปแบบจริงๆ ส่วนตัวอักษรที่มี
การปรับระยะให้ชิดขอบทั้งซ้ายและขวา (Justify) เป็นที่นิยมใช้ในหนังสือพิมพ์
และจุลสาร พร้อมกับให้คามรู้สึกที่เป็นทางการอีกด้วย

ความสะดวกในการอ่าน (Legibility)

- หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด เพราะจะทำให้อ่านยาก
    และลดความสะดุดตาลง
- การใช้ตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดในประโยค จะสร้างความรู้สึกไม่เป็นทางการ

   และแสดงถึงความไม่สมบูรณ์ของเนื้อหา
- การใช้ตัวพิมพ์ใหญ่สำหรับตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคำในประโยค ควรใช้อย่าง

   จำกัดเพราะเป็นการรบกวนรูปแบบโดยรวมของคำ ส่งผลให้อ่านยากขึ้น
-ไม่ควรแบ่งครึ่งสีตัวอักษรเพราะทำให้ภาพรวมของตัวอักษรขาดหายไป


สิ่งที่ควรคำนึงในการจัดข้อความให้หน้าเว็บ
  • การจัดตำแหน่ง (Alignment)
  • ช่องว่างระหว่างตัวอักษร และช่องว่างระหว่างคำ
  • การจัดตำแหน่งแบบ justify ทำให้เกิดช่องว่างของแต่ละคำ
  • ระยะห่างระหว่างบรรทัด
  • ความยาวของหน้าเว็บ
  • ขนาดของตัวอักษร
  • ดึงดูดความสนใจด้วยอักษรตัวใหญ่
  • การเน้นข้อความให้เด่นชัด
  • การใช้สีกับตัวอักษร
  • การกำหนดขอบแบบ Aliased และ Anti-aliased

คำแนะนำในการใช้ตัวอักษรในหน้าเว็บ
  • ไม่ควรใช้ตัวอักษรชนิดที่หายากหรือไม่ได้มาพร้อมกับโปรแกรม
            ต่างๆหรือเครื่องคอมฯ
  • ระบุชนิดตัวอักษรให้ครอบคลุม
  • กำหนดลักษณะของตัวอักษรที่อยู่ในทุกช่องของตาราง
  • ระบุขนาดของตัวษรเสมอ
  • ใช้ CSS ในการควบคุมรูปแบบการแสดงผล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น